ในโหมดอื่นที่ไม่ใช่ P, S, A และ M กล้องจะปรับค่าไวต์บาลานซ์โดยอัตโนมัติ แนะนำให้ใช้การปรับไวต์บาลานซ์แบบอัตโนมัติสำหรับแหล่งกำเนิดแสงส่วนใหญ่ในโหมด P, S, A และ M แต่ผู้ใช้สามารถเลือกค่าอื่นๆ เพื่อให้เหมาะกับชนิดของแหล่งกำเนิดแสงได้หากจำเป็น:

ตัวเลือก (อุณหภูมิ *) คำอธิบาย
vอัตโนมัติ กล้องจะปรับไวต์บาลานซ์ให้โดยอัตโนมัติ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้ใช้เลนส์ชนิด G, E หรือ D ถ้ามีการใช้แฟลช ผลลัพธ์ที่ได้จะได้รับการปรับอย่างเหมาะสม
  ปกติ (3500–8000 K)
รักษาสภาพแสงโทนสีอบอุ่น (3500–8000 K)
Jหลอดไส้ (3000 K) ใช้ภายใต้แสงจากไฟหลอด
Iฟลูออเรสเซนต์ ใช้กับ:
  หลอดไอโซเดียม (2700 K) แสงไฟจากหลอดไอโซเดียม (เช่น ในสนามกีฬา)
วอร์มไวต์ฟลูออเรสเซนต์ (3000 K) แสงวอร์มไวต์ฟลูออเรสเซนต์
ไวต์ฟลูออเรสเซนต์ (3700 K) แสงไวต์ฟลูออเรสเซนต์
คูลไวต์ฟลูออเรสเซนต์ (4200 K) แสงคูลไวต์ฟลูออเรสเซนต์
เดย์ไวต์ฟลูออเรสเซนต์ (5000 K) แสงเดย์ไวต์ฟลูออเรสเซนต์
เดย์ไลต์ฟลูออเรสเซนต์ (6500 K) แสงเดย์ไลต์ฟลูออเรสเซนต์
ไอปรอทอุณหภูมิสูง (7200 K) แหล่งกำเนิดแสงที่ให้อุณหภูมิสีสูง (เช่น หลอดไอปรอท)
Hแสงอาทิตย์ (5200 K) ใช้กับวัตถุที่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง
Nแฟลช (5400 K) สำหรับการถ่ายภาพด้วยแฟลช
Gเมฆมาก (6000 K) ใช้ถ่ายภาพตอนกลางวันในสภาพท้องฟ้ามีเมฆมากหรือมืดครึ้ม
Mในร่ม (8000 K) ใช้ถ่ายภาพเวลากลางวันเมื่อวัตถุอยู่ในร่มเงา
Kเลือกอุณหภูมิสี (2500-10,000 K) เลือกค่าอุณหภูมิสีจากรายการ (0 การเลือกอุณหภูมิสี)
Lตั้งค่าเอง ใช้วัตถุ แหล่งกำเนิดแสง หรือภาพถ่ายที่มีอยู่เป็นแหล่งอ้างอิงในการปรับไวต์บาลานซ์ (0 ตั้งค่าเอง)

ค่าทั้งหมดเป็นค่าโดยประมาณและไม่ส่งผลต่อการปรับละเอียด (ถ้าเลือกไว้)

สามารถตั้งค่าไวต์บาลานซ์ได้โดยการกดปุ่ม L (U) และหมุนแป้นหมุนเลือกคำสั่งหลักไปจนกระทั่งการตั้งค่าที่ต้องการแสดงขึ้น

ปุ่ม L (U)

แป้นหมุนเลือกคำสั่งหลัก

ไลฟ์วิว

ในโหมดไลฟ์วิว ตัวเลือกที่เลือกจะแสดงขึ้นในหน้าจอ

เมนูถ่ายภาพ

ไวต์บาลานซ์สามารถปรับได้โดยใช้ตัวเลือก ไวต์บาลานซ์ ในเมนูถ่ายภาพหรือภาพยนตร์ (0 ไวต์บาลานซ์, ไวต์บาลานซ์) ซึ่งสามารถใช้เพื่อปรับไวต์บาลานซ์อย่างละเอียด (0 การปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียด) หรือจัดการตั้งค่าล่วงหน้าไวต์บาลานซ์ (0 ตั้งค่าเอง) ตัวเลือก อัตโนมัติ ในเมนู ไวต์บาลานซ์ มีตัวเลือก ปกติ และ รักษาสภาพแสงโทนสีอบอุ่น ซึ่งจะรักษาโทนสีอุ่นของไฟจากหลอดไส้ไว้ ในขณะที่ตัวเลือก I ฟลูออเรสเซนต์ จะใช้เพื่อเลือกแหล่งกำเนิดแสงจากหลอดไฟ

แสงแฟลชสตูดิโอ

ไวต์บาลานซ์อัตโนมัติอาจไม่ให้ผลลัพธ์ที่ดีเมื่อใช้กับชุดแฟลชสตูดิโอขนาดใหญ่ ให้ใช้ไวต์บาลานซ์ที่ตั้งเองล่วงหน้าหรือตั้งค่าไวต์บาลานซ์ไปที่ แฟลช แล้วใช้การปรับอย่างละเอียดเพื่อปรับค่าไวต์บาลานซ์

อุณหภูมิสี

สีที่เห็นจากแหล่งกำเนิดแสงแตกต่างกันออกไปตามสายตาของผู้มองและเงื่อนไขอื่นๆ อุณหภูมิสีคือการวัดเชิงวัตถุของสีจากแหล่งกำเนิดแสง โดยระบุการอ้างอิงกับอุณหภูมิที่ต้องใช้ในการทำให้วัตถุร้อนเพื่อให้แสงแผ่รังสีออกมาในความยาวคลื่นเดียวกัน ขณะที่แหล่งกำเนิดแสงที่มีอุณหภูมิสีในย่านใกล้เคียงกับ 5000–5500 K จะปรากฏเป็นสีขาว แต่แหล่งกำเนิดแสงที่มีอุณหภูมิสีต่ำกว่านั้น เช่น แสงจากหลอดไส้ จะปรากฏเป็นสีออกเหลืองหรือแดง แหล่งกำเนิดแสงที่มีอุณหภูมิสีสูงกว่านี้จะมีโทนสีออกน้ำเงิน

สี “ร้อนขึ้น” (แดงกว่า) สี “เย็นลง” (น้ำเงินกว่า)  

I (หลอดไอโซเดียม): 2700 K
J (หลอดไส้)/I (วอร์มไวต์ฟลูออเรสเซนต์): 3000 K
I (ไวต์ฟลูออเรสเซนต์): 3700 K
I (คูลไวต์ฟลูออเรสเซนต์): 4200 K
I (เดย์ไวต์ฟลูออเรสเซนต์): 5000 K
H (แสงอาทิตย์) 5200 K
N (แฟลช) 5400 K
G (เมฆมาก) 6000 K
I (เดย์ไลท์ฟลูออเรสเซนต์): 6500 K
I (ไอปรอทอุณหภูมิสูง): 7200 K
M (ในร่ม) 8000 K

หมายเหตุ: ตัวเลขทั้งหมดเป็นค่าโดยประมาณ