คู่มือการใช้งานเลนส์ AF‑S NIKKOR 24–120mm f/4G ED VR

ในส่วนนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการใช้งานเลนส์สำหรับลูกค้าที่ซื้อชุดเลนส์ AF‑S NIKKOR 24–120mm f/4G ED VR

  • โปรดจำไว้ว่าชุดเลนส์นี้อาจจะไม่มีจำหน่ายในบางประเทศหรือบางภูมิภาค

ส่วนประกอบต่างๆ ของเลนส์

ส่วนประกอบของ AF‑S NIKKOR 24–120mm f/4G ED VR แสดงดังรายการข้างล่างนี้

1

เลนส์ฮูด (เลนส์ฮูด)

2

เครื่องหมายจัดแนวเลนส์ฮูด (เลนส์ฮูด)

3

เครื่องหมายแสดงตำแหน่งล็อคเลนส์ฮูด (เลนส์ฮูด)

4

เครื่องหมายแสดงตำแหน่งติดตั้งเลนส์ฮูด (เลนส์ฮูด)

5

วงแหวนปรับระยะซูม

6

สเกลทางยาวโฟกัส

7

เครื่องหมายบอกทางยาวโฟกัส

8

สัญลักษณ์แสดงสถานะระยะโฟกัส

9

เครื่องหมายระยะโฟกัส

10

วงแหวนปรับโฟกัส ( แมนวลโฟกัส )

11

เครื่องหมายแสดงตำแหน่งติดตั้งเมาท์เลนส์ ( การประกอบเลนส์ )

12

ยางวงแหวนเมาท์เลนส์

13

ขั้ว CPU ( การระบุเลนส์ CPU และเลนส์ชนิด G, E และ D )

14

สวิทช์ปรับโหมดโฟกัส ( แมนวลโฟกัส )

15

สวิทช์ระบบลดภาพสั่นไหว (ระบบลดภาพสั่นไหว (VR))

16

สวิทช์ปรับโหมดระบบลดภาพสั่นไหว

โฟกัส

โหมดโฟกัสที่รองรับจะแสดงในตารางต่อไปนี้

โหมดโฟกัสกล้อง

โหมดโฟกัสเลนส์

M/A

M

AF (A/S/C)

โฟกัสอัตโนมัติพร้อมปรับโฟกัสแมนวล (ปรับเอง)

แมนวลโฟกัสพร้อมการวัดระยะแบบอิเล็กทรอนิกส์

MF

แมนวลโฟกัสพร้อมการวัดระยะแบบอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับโหมดโฟกัสของกล้อง โปรดดูในคู่มือการใช้งานของกล้อง

M/A (โฟกัสอัตโนมัติพร้อมปรับโฟกัสแมนวล)

  1. เลื่อนสวิทช์ปรับโหมดโฟกัสของเลนส์ไปยังโหมด M/A

  2. หากต้องการ จะสามารถใช้การโฟกัสอัตโนมัติแทนได้โดยการหมุนวงแหวนปรับโฟกัสขณะที่กดปุ่มกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งหรือกดปุ่ม AF‑ON อยู่

  3. หากต้องการปรับโฟกัสภาพใหม่โดยใช้ฟังก์ชั่นโฟกัสอัตโนมัติ ให้กดปุ่มกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งหรือกดปุ่ม AF‑ON อีกครั้ง

การซูมและระยะชัดลึก

ก่อนทำการโฟกัส ให้หมุนวงแหวนปรับระยะซูมเพื่อปรับทางยาวโฟกัสและจัดองค์ประกอบภาพได้ หากกล้องมีการดูตัวอย่างระยะชัดลึก (หยุดค่ารูรับแสง) จะสามารถดูตัวอย่างระยะชัดลึกได้ในช่องมองภาพ

  • เลนส์นี้มีระบบโฟกัสภายใน Internal Focusing (IF) ของ Nikon ทางยาวโฟกัสจะลดลงเมื่อระยะโฟกัสสั้นลง

  • สัญลักษณ์แสดงสถานะระยะโฟกัสมีไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางเท่านั้นและอาจไม่แสดงระยะวัตถุได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ สัญลักษณ์แสดงสถานะระยะโฟกัสอาจไม่แสดงเครื่องหมาย ∞ เมื่อกล้องโฟกัสบนวัตถุที่อยู่ไกล เนื่องจากระยะชัดลึกหรือปัจจัยอื่น

รูรับแสง

ใช้ปุ่มควบคุมที่ตัวกล้องเพื่อปรับรูรับแสง

การใช้เลนส์กับกล้องที่มีแฟลชในตัวกล้อง

เมื่อใช้แฟลชในตัวกล้อง:

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวัตถุอยู่ห่างกล้องเป็นระยะอย่างน้อย 0.6 เมตร

  • ถอดเลนส์ฮูดออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเงาในภาพที่ถ่ายด้วยแฟลช

  • หากแฟลชถูกบังด้วยเลนส์ฮูดหรือส่วนปลายของเลนส์ เงาจะปรากฏขึ้นบนวัตถุที่อยู่ใกล้กับกล้อง

1

เงามืด

2

เงามืด

  • เมื่อติดเลนส์บนกล้องรุ่นต่อไปนี้ แฟลชในตัวกล้องอาจจะไม่สามารถให้ความสว่างกับวัตถุได้ทั่วถึงในระยะที่ใกล้กว่าระยะที่ระบุด้านล่าง:

    กล้องดิจิตอล SLR

    ตำแหน่งซูม/ระยะที่ใกล้ที่สุดที่ไม่เกิดเงา

    D750 (รูปแบบ FX)/D610 (รูปแบบ FX)/D600 (รูปแบบ FX)

    • 24 มม./2.0 เมตร

    • 28 มม./1.0 เมตร

    • 50 มม. ขึ้นไป/ไม่มีเงา

    D810 ซีรีส์ (รูปแบบ FX)/D800 ซีรีส์ (รูปแบบ FX)

    • 28 มม./1.0 เมตร

    • 35 มม. ขึ้นไป/ไม่มีเงา

    D700 (รูปแบบ FX)

    • 24 มม./3.0 เมตร

    • 35 มม. ขึ้นไป/ไม่มีเงา

    D300 ซีรีส์/D200/D100

    • 24 มม./1.0 เมตร

    • 35 มม. ขึ้นไป/ไม่มีเงา

    D90/D80/D70 ซีรีส์/D50

    • 24 มม./1.5 เมตร

    • 35 มม. ขึ้นไป/ไม่มีเงา

    D5600/D5500/D5300/D5200/D5100/D3300/D3200

    • 24 มม./1.5 เมตร

    • 28 มม. ขึ้นไป/ไม่มีเงา

    D5000/D3100/D3000/D60/D40 ซีรีส์

    • 24 มม./2.5 เมตร

    • 35 มม. ขึ้นไป/ไม่มีเงา

    D3400

    • 24 มม./1.5 เมตร

    • 28 มม./1.0 เมตร

    • 35 มม. ขึ้นไป/ไม่มีเงา

ระบบลดภาพสั่นไหว (VR)

การใช้สวิทช์ระบบลดภาพสั่นไหว

ON: เปิดใช้ระบบลดภาพสั่นไหว ระบบลดภาพสั่นไหวจะทำงานเมื่อกดปุ่มกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการสั่นไหวของกล้องเพื่อให้การจัดองค์ประกอบภาพและการโฟกัสดีขึ้น

OFF: ปิดระบบลดภาพสั่นไหว

การใช้สวิทช์ปรับโหมดระบบลดภาพสั่นไหว

ตัวเลือกที่เลือกด้วยสวิทช์ปรับโหมดระบบลดภาพสั่นไหวจะมีผลเมื่อสวิทช์ระบบลดภาพสั่นไหวอยู่ในตำแหน่ง ON

NORMAL: ชดเชยส่วนใหญ่สำหรับการสั่นในรูปแบบปกติ ระบบลดภาพสั่นไหวยังทำงานเมื่อแพนกล้องด้วย

ACTIVE: ลดการเกิดภาพสั่นไหว เมื่อถ่ายภาพจากยานพาหนะที่เคลื่อนที่และในสถานการณ์อื่นๆ ที่ทำให้กล้องเคลื่อนไหว กล้องไม่ตรวจจับการแพน

การใช้ระบบลดภาพสั่นไหว: หมายเหตุ
  • เมื่อใช้ระบบลดภาพสั่นไหว ให้กดปุ่มกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งและรอให้ภาพในช่องมองภาพนิ่งก่อนที่จะกดปุ่มกดชัตเตอร์ลงจนสุด

  • ขณะที่ระบบลดภาพสั่นไหวทำงาน ภาพในช่องมองภาพอาจกระตุกหลังจากลั่นชัตเตอร์ แต่ไม่ได้เป็นสัญญาณการทำงานผิดปกติ

  • เลื่อนสวิทช์ปรับโหมดระบบลดภาพสั่นไหวไปที่ NORMAL เพื่อถ่ายภาพแบบแพนกล้อง ในโหมด NORMAL ระบบลดภาพสั่นไหวจะทำงานเฉพาะกับการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแพน หากแพนกล้องไปตามแนวนอน ลดภาพสั่นไหวจะทำงานเฉพาะเมื่อมีการสั่นในแนวตั้ง

  • อย่าปิดการทำงานของกล้องหรือถอดเลนส์หากระบบลดภาพสั่นไหวยังคงทำงาน หากไฟไปเลี้ยงเลนส์ดับขณะเปิดระบบลดภาพสั่นไหว เลนส์อาจมีเสียงดังกรอกแกรกเมื่อไปทำให้เลนส์สั่นไหว แต่ไม่ได้เป็นสัญญาณการทำงานผิดปกติ การสั่นจะสิ้นสุดลงเมื่อใส่เลนส์กลับเข้าไปใหม่และเปิดกล้อง

  • หากกล้องมีแฟลชในตัวกล้อง ระบบลดภาพสั่นไหวจะปิดใช้งานขณะที่ชาร์จแฟลช

  • ในกรณีที่กล้องมีปุ่ม AF‑ON ระบบลดภาพสั่นไหวจะไม่ทำงานเมื่อกดปุ่ม

  • เลือก OFF เมื่อติดตั้งกล้องไว้บนขาตั้งกล้อง อย่างไรก็ตาม โปรดทราบว่าขอแนะนำให้เลือก ON หากส่วนหัวของขาตั้งกล้องไม่มั่นคงหรือเมื่อใช้ขาตั้งแบบขาเดียว

เลนส์ฮูด

เลนส์ฮูดจะปกป้องเลนส์และบังไม่ให้มีแสงเล็ดลอดที่อาจทำให้เกิดแสงแฟลร์หรือแสงโกสต์ได้

การติดตั้งฮูด

  • ตรวจสอบว่าเครื่องหมายแสดงตำแหน่งติดตั้งเลนส์ฮูด (I) ตรงกับเครื่องหมายล็อคเลนส์ฮูด (—K) ตามที่แสดงในภาพประกอบ (e)

  • เมื่อติดหรือถอดฮูด ให้หลีกเลี่ยงการยึดที่แน่นเกินไป เมื่อติดหรือถอดฮูด ถือให้ใกล้กับเครื่องหมายจัดแนวฮูด ()

  • อาจเกิดขอบมืดขึ้น ถ้าติดฮูดไม่ถูกต้อง

  • สามารถถอดฮูดและยึดบนเลนส์เมื่อไม่ใช้งาน

อุปกรณ์เสริมที่ให้มา

  • ฝาปิดหน้าเลนส์ LC-77 (ฝาปิดด้านหน้า)

  • ฝาปิดหน้าเลนส์ LF‑4 (ฝาปิดด้านหลัง) *

  • เลนส์ฮูด HB‑53

  • ถุงใส่เลนส์แบบยืดหยุ่น CL‑1218

  • อาจมีฝาที่แตกต่างกันให้มากับชุดเลนส์

อุปกรณ์เสริมที่รองรับ

  • ฟิลเตอร์แบบมีเกลียวขนาด 77 มม.

ข้อมูลจำเพาะ

ประเภท

เลนส์ AF‑S ชนิด G พร้อม CPU ในตัวและ F เมาท์

ทางยาวโฟกัส

24–120 มม.

ค่ารูรับแสงสูงสุด

f/4

โครงสร้างเลนส์

เลนส์ 17 ชิ้น แบ่งเป็น 13 กลุ่ม (รวมเลนส์ ED 2 ชิ้น, เลนส์แอสเฟอริคัล 3 ชิ้น และชิ้นเลนส์ที่เคลือบด้วยนาโนคริสตัล)

มุมมองภาพ

84° – 20° 20´ (กล้อง D-SLR รูปแบบ FX ของ Nikon)
61° – 13° 20´ (กล้อง D-SLR รูปแบบ DX ของ Nikon)

สเกลทางยาวโฟกัส

ไล่ระดับในหน่วยมิลลิเมตร (24, 28, 35, 50, 70, 85, 120)

ข้อมูลระยะห่าง

ส่งไปที่กล้อง

ซูม

การซูมแบบปรับเองโดยใช้วงแหวนปรับระยะซูมอิสระ

การโฟกัส

ระบบโฟกัสภายใน Internal Focusing (IF) ของ Nikon พร้อมโฟกัสอัตโนมัติที่ควบคุมโดยไซเลนท์เวฟมอเตอร์ และวงแหวนปรับโฟกัสแยกต่างหากสำหรับแมนวลโฟกัส

ระบบลดภาพสั่นไหว

ใช้วิธีการปรับเลนส์โดยใช้ voice coil motors (VCMs (วอยซ์ คอยล์ มอเตอร์))

สัญลักษณ์แสดงสถานะระยะโฟกัส

0.45 เมตร ถึงระยะอนันต์ (∞)

ระยะโฟกัสใกล้สุด

0.45 เมตร จากระนาบโฟกัสที่ทุกตำแหน่งซูม

จำนวนกลีบไดอะแฟรม

9 (รูไดอะแฟรมแบบกลม)

ไดอะแฟรม

อัตโนมัติสมบูรณ์แบบ

ช่วงความกว้างรูรับแสง

f/4–22

ระบบวัดแสง

รูรับแสงกว้างสุด

ขนาดฟิลเตอร์สำหรับติดตั้ง

77 มม. (P = 0.75 มม.)

ขนาด

เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุดประมาณ 84 มม. × 103.5 มม. (ระยะห่างจากหน้าแปลนเมาท์เลนส์ของกล้อง)

น้ำหนัก

ประมาณ 710 กรัม

  • Nikon ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์หรือรายละเอียดของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ได้กล่าวไว้ในคู่มือนี้ได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

  • Nikon จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากความผิดพลาดใดๆ ที่อาจมีอยู่ในคู่มือฉบับนี้

การดูแลรักษาเลนส์
  • รักษาให้ขั้ว CPU สะอาดอยู่เสมอ

  • หากยางวงแหวนเมาท์เลนส์เสียหาย ให้หยุดการใช้งานในทันทีและนำเลนส์ไปให้ศูนย์บริการ Nikon ที่ได้รับการแต่งตั้งซ่อมแซม

  • ใช้ลูกยางเป่าลมขจัดสิ่งสกปรกหรือฝุ่นละอองออกจากหน้าเลนส์ ในการลบรอยนิ้วมือหรือคราบสกปรกอื่นๆ ให้หยดเอทานอลหรือน้ำยาทำความสะอาดเลนส์ปริมาณเล็กน้อยลงบนผ้าฝ้ายสะอาด เนื้อนุ่ม หรือบนกระดาษเช็ดเลนส์และเช็ดทำความสะอาดโดยวนเป็นวงกลมจากจุดศูนย์กลางสู่ขอบเลนส์ ระวังอย่าให้เกิดรอยเปื้อนหรือสัมผัสเลนส์ด้วยนิ้วมือ

  • ห้ามใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ทินเนอร์ผสมสีหรือเบนซินในการทำความสะอาดเลนส์

  • สามารถใช้ฟิลเตอร์สีเป็นกลาง (NC) เพื่อปกป้องเลนส์ชิ้นหน้า สามารถใช้เลนส์ฮูดได้เช่นกัน

  • ปิดฝาปิดเลนส์ก่อนจะใส่เลนส์ลงในซอง

  • เมื่อใส่เลนส์ฮูด ห้ามหยิบ หรือถือเลนส์หรือกล้องโดยจับเฉพาะที่ฮูด

  • ถ้าไม่ต้องการใช้เลนส์เป็นเวลานาน ให้เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและสนิม ห้ามเก็บให้โดนแสงอาทิตย์โดยตรง หรือเก็บไว้กับลูกเหม็นหรือการบูร

  • รักษาเลนส์ให้แห้งอยู่เสมอ; หากกลไกภายในขึ้นสนิมจะทำให้เลนส์ชำรุดเสียหายได้

  • ห้ามวางเลนส์ไว้ใกล้เครื่องทำความร้อนหรือในบริเวณที่ร้อน ความร้อนสูงอาจทำให้ชิ้นส่วนที่ทำจากพลาสติกเสริมแรงเสียหายหรือบิดงอได้